วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาดูกันซิว่าไทยมีวิวัฒนาการขนส่งทางอากาศอย่างไร



ประวัติการขนส่งทางอากาศเชิงพาณิชย์ของไทย

การขนส่งทางอากาศของไทยเริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) โดยพันเอก เดน เบอร์ ( Vander Born ) ชาวเบลเยี่ยมได้นำเครื่องบินออร์วิลล์ ไรท์ มาสาธิตการบิน ณ ราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน ในปี วันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 และนับเป็นเครื่องบินลำแรกที่เข้ามาในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการขนส่งทางอากาศ และได้ทรงริเริ่มวางรากฐานการบินในประเทศไทย โดยได้ทรงโปรดเกล้าให้กระทรวงกลาโหมคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาวิชาการบินที่ฝรั่งเศล เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้ซื้อเครื่องบินมาจำนวน 8 ลำ โดยบรรทุกลงเรือมาประเทศไทย และใช้ราชกรีฑาสโมสร เป็นสนามบินพร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบินในบริเวณนั้น ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้ก่อสร้างสนามบินขึ้นใหม่ที่ตำบล ดอนเมือง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้มีการใช้เครื่องบินในการไปรษณีย์ภัณฑ์ โดยเริ่มทำการทดลองในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2463 โดยขนส่งจากกรุงเทพไปยังนครราชสีมา ใช้เวลาบิน 1 ชั่วโมง 28 นาที


ต่อมากรมอากาศยานทหารบกได้นำเครื่องบินแบบเบร์เกต์มาดัดแปลงสำหรับขนส่งพัสดุและผู้โดยสาร โดยเส้นทางแรกที่ทำการทดลองคือกรุงเทพฯ – จันทร์บุรี ทดลองบินในปี พ.ศ.2465 ต่อมาในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันได้เปิดเส้นทางนครราชสีมา – ร้อยเอ็ด – อุบลราชธานี ซึ่งปรากฏว่ามีผู้คนใช้บริการเป็นจำนวนมาก จนในปี พ.ศ.2466 ได้เปิดเส้นทางใหม่ นครราชสีมา – ร้อยเอ็ด – อุดรธานี – หนองคาย

ในปี พ.ศ. 2467 สายการบิน KLM ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำการบินพาณิชย์ไปยังประเทศอินโดนิเซียโดยใช้เครื่องบินฟอกเกอร์ ได้มาแวะที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และนับเป็นสายการบินแรกที่บินเข้ามายังประเทศไทย

ต่อมาในวันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2473 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจได้ก่อตั้งบริษัทเดินอากาศจำกัด โดยใช้ชื่อภาษอังกฤษว่า Aerial Transport of Siam Company Limited เส้นทางการบินในระยะแรก เน้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฐานบินอยู่ที่โคราช เริ่มบริการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ในเส้นทาง โคราช – ร้อยเอ็ด – นครพนม และเส้นทาง โคราช – ขอนแก่น - อุดรธานี ด้วยควมถี่ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

 


ในปี พ.ศ . 2479 ๆได้ขยายกิจการให้บริการสู่ภาคเหนือ ในเส้นทาง นครสวรรค์ – ตาก และนครสวรรค์ – เชียงใหม่ ส่วนทางภาคใต้ได้เปิดเส้นทางการบินระหว่าง กรุงเทพ ไปยัง สุราษฏร์ธานี พังงา และ ภูเก็ต ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 ได้มีการรวมเส้นทางการบินของกองทัพอากาศมาให้บริษัท เดินอากาศ ( บดท ) ได้แก่เส้นทาง กรุงเทพฯ ไปยัง ปีนัง สิงค์โปร์ ฮ่องกง ร่างกุ้ง กัลกัตต้า เสียมราฐ


หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีสายการบินสายที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2490 ใช้ชื่อว่า สายการบินแปซิฟิก โอเวอร์ซีส์ ( POAS ) โดยเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐ ทำการบินด้วยเครื่องบินแบบ DC –3 โดยบินจากกรุงเทพ – ฮ่องกง – กวม – เวก – มิดเวย์ – โฮโนลูลู – ลอสแองเจลลิส และในเส้นทาง กรุงเทพ ไปยัง ปีนัง ฮ่องกง เซี้ยงไฮ้ โตเกียว สิงค์โปร์ ปรากฏว่าเส้นทางทับซ้อนกับบริษัทดินอากาศ รัฐบาลจึงให้รวมบริษัท และให้ชื่อว่า บริษัทเดินอากาศไทยจำกัด ( The Airways Co.Ltd.หรือ TAC ( บดท.) เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2494 และได้ซื้อเครื่องบิบแบบ DC – 4 เพิ่มอีก 1 เครื่อง และในปี พ.ศ.2520 บริษัทได้ซื้อเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 737-200 ( Boeing 737-200 ) จำนวน 4 เครื่อง แต่ล่ะเครื่องจุผู้โดยสาร 115 ที่นั่งมาให้บริการและในปี พ.ศ.2524 ได้นำเครื่องบินแบบ แอฟโร่ 748 จำนวน 7 เครื่องมาให้บริการ




ข้อมูลและภาพประกอบจากหนังสือ The history of Aviation in Thailand.

รู้หรือไม่ว่า! การบินของไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วใครนำเข้ามา เรามาดูกันเลยดีกว่า

ประวัติการบินในประเทศไทย

 การบินเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้ช้างเป็นพาหนะสำคัญในการขนส่งทางบก และมีเรือพายเรือแจวแล่นลอยเต็มลำน้ำลำคลอง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมีนักบินชาวเบลเยี่ยมคือ นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร โดย นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างแห่งกองทัพบก ได้ทรงเป็นผู้โดยสารที่ขึ้นบินทดลองชุดแรก เมื่อเสร็จการแสดงแล้วได้ทรงซื้อเครืองบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเอง กระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมืองวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 ได้แก่
นายพันตรีหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ (นายสุณี สุวรรณประทีป)
นายร้อยเอกหลวงอาวุธ สิขิกร (นายหลง สิน-ศุข) และ
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต



   เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ เป็นเครื่องบินที่ทางราชการซื้อ 7 ลำ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อให้ทางราชการ 1 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และใน พ.ศ. 2461 ไทยได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมการรบด้วย 300 คน ทหารอาสาของไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อการขับเครื่องบินและเลยไปถึงการสร้างเครื่องบินจากทหารฝรั่งเศส เมื่อสิ้นสงครามโลกปรากฏว่าไทยมีนักบินที่มีคุณสมบิตครบถ้วนมากกว่า 100 คน ประชาชนชาวไทยต่างพร้อมในกันบริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้กับทางราชการ (กระทรวงกลาโหม) ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อของจังหวัดที่บริจาคเงินเป็นชื่อของเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากถึง 31 ลำ

เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการทดลองทำการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ (Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ นับว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาสู่การบินก่อนหน้าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ การทดลองทำการบินได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาจึงได้มีการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้ด้วย
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2463 กรมอากาศยานทหารบกได้เปิดการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เพราะในเวลานั้นจังหวัดทั้ง 2 ยังมิได้มีการติดต่อกันโดยทางรถไฟ เส้นทางบินได้ขยายออกไปยังจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย มีเส้นทางบินอีกสายหนึ่งไปยังจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ แม้จะมีการขนส่งผู้โดยสารบ้าง แต่บริการหลักก็ยังคงเป็นไปรษณีย์และเป็นการขนส่งไปยังจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟเชื่อมถึง
ในปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และจากนั้นการบินพลเรือนของประเทศได้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด
เมื่อ พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้พระราชทานทุนให้ น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจักรกลอยู่แล้ว ไปศึกษาวิชาการบินและวิศวกรรมช่างกลต่อที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2475 ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ไปรับจ้างแสดงการบินผาดโผน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงได้เดินทางไปแสดงในรัฐต่าง ๆ หลายแห่ง จนกระทั่งมีเงินเหลือเก็บจึงขอซื้อเครื่องบินจากบริษัท TRAVEL AIR ในแบบเครื่องยนต์ CURTISS OX-5 90 แรงม้า ในราคา 6,000 บาท และใช้เครื่องบินนั้นบินกลับมายังประเทศไทย โดยให้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า “นางสาวสยาม” และเป็นภาษาอังกฤษว่า “MISS SIAM” นับเป็นเครื่องบินพลเรือนลำแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ 2475 น.อ. เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ทำการบินเดี่ยวจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนและกลับในความอุปถัมป์จาก สมาชิกสโมสรสามัคคีจีนสยาม (ชาวจีนในไทย) ได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน นับว่าประเทศไทยได้มีการคมนาคมทางอากาศกับประเทศจีนเป็นครั้งแรก

 




อ้างอิง : http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=7

ที่มา: กรมการขนส่งทางอากาศ (http://www.aviation.go.th/template/history.htm)


วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขนส่งทางอากาศ

การขนส่งทางอากาศ


การขนส่งทางอากาศ คือการลำเลียง คน สัตว์ และสิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง โดยใช้ยานพาหนะที่เคลื่อนที่ในอากาศ
.
วิวัฒนาการของการขนส่งทางอากาศ      เริ่มจากเครื่องร่อน บอลลูน เรือเหาะ และในปัจจุบันใช้เครื่องบินการรับขนสาธารณะโดยอากาศยาน ซึ่งคนโดยสาร สัมภาระ สินค้า และไปรษณียภัณท์ ที่แยกกันหรือรวมกัน โดยมีค่าตอบแทนหรือค่าจ้าง
          การขนส่งทางอากาศ เป็นการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีอื่น แต่ต้องใช้จ่ายค่าเชื้อเพลิงสูง เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีราคาแพงและจำเป็นที่ตลาดมีความต้องการสูง มีน้ำหนักไม่มากเกินไปปัจจุบันเกือบทุกประเทศในโลกมีสายการบินพาณิชย์ของตน เอง เพื่อใช้ขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ
           ข้อดีของการขนส่งทางอากาศ
            1)  เสียเวลาในการเดินทางน้อย
            2)สามารถเข้าถึงท้องถิ่นไกลๆ หรือเขตทุรกันดารได้
            ข้อเสียของการขนส่งทางอากาศ
            1)  ค่าใช้จ่ายสูง
            2)  เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าการขนส่งทางอื่น
            3)  มีอุปสรรคทางด้านดินฟ้าอากาศ
 เครื่องบินเคลื่อนที่ในอากาศได้เนื่องจากเครื่องยนต์ และปีกเครื่องบินแดเนียล เบอร์นูลี นักวิทยาศาสตร์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์พบว่า เมื่ออากาศมีความเร็วเพิ่มขึ้นความดันของอากาศจะลดลง เนื่องจากอากาศที่กำลังเคลื่อนที่จะมีพลังงานจลน์ และอากาศที่มีความเร็วสูงจะมีพลังงานจลน์มากกว่าอากาศที่มีความเร็วต่ำ ดังนั้นขณะที่อากาศมีความเร็วสูงขึ้นจะมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ทำให้แรงกระทำต่อพื้นที่ลดลง เป็นเหตุให้ความดันลดลงด้วย จากหลักการนี้จึงนำไปสร้างปีกเครื่องบินให้มีผิวด้านบนโค้งด้านล่างเรียบ เมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่อากาศด้านบนของปีกเครื่องบินมีความเร็วมากขึ้น ความดันลดลง ทำให้อากาศด้านล่างของปีกออกแรงดันปีกเครื่องบินให้ยกขึ้น เครื่องบินไอพ่น เครื่องบินไอพ่นเคลื่อนที่ได้โดยมีกลจักรพ่นอากาศไปทางด้านหลัง ก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาขับดันเครื่องบินไปข้างหน้า กระแสลมที่พัดผ่านปีกจะทำให้เกิดแรงยกเครื่องบินให้ลอยตัวได้ ตามหลักของแดเนียล เบอร์นูลี
            เนื่องจากเวลาเป็นอุปสรรคสำคัญในการขนส่งสินค้าทั้งทางเรือและทางถนน สำหรับสินค้าบางประเภทแล้วเวลาที่ใช้ในการขนส่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การขนส่งสินค้าทางอากาศมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าที่ต้องการแข่งกับเวลา และลดความเสียหายที่มีสาเหตุจากการขนส่งน้อยที่สุดด้วยลักษณะเฉพาะตัวที่มี ความเร็วสูงเมื่อเทียบกับรูปแบบการขนส่งทุกประเภทสามารถทำระยะทางได้ไกลกว่า การขนส่งทางถนน ความจุของยานพาหนะในการขนส่งสินค้ามากกว่าการขนส่งสินค้าทางบกแต่น้อยกว่า การขนส่งทางทะเลและทางรถไฟ สามารถขนส่งสินค้าได้หลากหลายประเภท ทั้งนี้ ขึ้นกับลักษณะของภาชนะที่ใช้บรรจุเป็นหลักแต่การขนส่งทางอากาศมีค่าใช้จ่าย ต่อหน่วยสูงมาก ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากเพื่อรองรับรูปแบบการขนส่งสินค้าทาง อากาศทั้งระบบ และยังคงต้องอาศัยระบบขนส่งสินค้าทางถนนช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าถึง พื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้การขนส่งทางอากาศสามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ได้ที่ท่าอากาศยานเท่านั้น นอกจากนี้ การขนส่งทางอากาศใช้ระยะเวลาในการรวบรวมและกระจายสินค้าเพื่อเตรียมการขนส่ง ในบริเวณคลังสินค้าทางอากาศโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้คลังสินค้าร่วมกับการขนส่งรูปแบบอื่นได้ เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากความมั่นคงของประเทศและรูปแบบของภาชนะที่ใช้ในการขนส่ง ที่มีลักษณะเฉพาะตัว
          อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ นับเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลก โดย International Air Transport Association (IATA) ระบุว่าสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของโลกพึ่งพาการขนส่งทางอากาศ ด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศของโลกในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวใน อัตราประมาณร้อยละ 6.2 ต่อปี โดยเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลงในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากเอเชียในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 จากนั้นจึงได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ทั้งนี้ บริษัท โบอิ้ง จำกัดได้คาดหมายว่าแนวโน้มการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศในระยะยาวจะ อยู่ในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6.4 ต่อปี และตลาดที่เชื่อมโยงกับเอเชียจะยังคงเป็นผู้นำโดยขยายตัวในอัตราสูงกว่าค่า เฉลี่ย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างชาติเอเชียด้วยกันจะมีอัตราการเติบโต ที่รวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทุกตลาดด้วยอัตราประมาณร้อยละ 8.6 ต่อปี และเมื่อถึงปี พ.ศ.2562 ตลาดเอเชียจะมีส่วนแบ่งในการขนส่งสินค้าทางอากาศกว่าร้อยละ 50 ของตลาดโลก
 ปัจจัยสําคัญที่ขับดันให้การขนส่งทางอากาศเติบโตขึ้น ได้แก่ แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าโลก และทิศทางการแข่งขันทางการค้าในโลกยุคใหม่ที่มุ่งเน้นความรวดเร็วและความ ยืดหยุ่นในการส่งมอบสินค้าและบริการที่กำลังกลายเป็นข้อได้เปรียบหลักของการ แข่งขันในอนาคต ดังนั้น สนามบินและเทคโนโลยีโลจิสติกส์สมัยใหม่จึงมีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว
        ท่าอากาศยานพาณิชย์ของไทยในปัจจุบันมีทั้งหมด 35 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 6 แห่ง และท่าอากาศยานภายในประเทศ 29 แห่ง เส้นทางการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศส่วนใหญ่จะมีจุดเริ่มต้นและปลาย ทางอยู่ที่ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 5 แห่ง
 ศักยภาพการขนส่งสินค้าทางอากาศในปัจจุบัน
             ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศไทยอยู่ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางอากาศกำลังมีบทบาทและมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว ทั้งนี้จากสถิติของสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย พบว่าในปีพ.ศ.2547 จำนวนปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ มีปริมาณคิดเป็นน้ำหนัก 1.06 ล้านตันต่อปี จัดเป็นอันดับ 7 ของเอเชีย และอันดับที่ 19 ของโลกในจำนวนนี้เป็นปริมาณสินค้าเพื่อการส่งออก (Total outbound and transit) กว่า 5.5แสนตันต่อปี ส่วนในด้านมูลค่านั้นประมาณว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกของไทยหรือประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นการขนส่งทางอากาศ ประเภทสินค้าที่นิยมใช้บริการขนส่งทางอากาศส่วนใหญ่ ได้แก่ สินค้าประเภทอุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและของมีค่าต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังนิยมขนส่งสินค้าประเภทผัก ผลไม้ ที่ต้องการรักษาสภาพให้คงความสดอยู่เสมอ ซึ่งสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศตามท่าอากาศยานที่สำคัญ แยกตามสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออกซึ่งในปี พ.ศ. 2548 มีปริมาณสินค้าขาเข้า 479,491 ตัน สินค้าขาออก 706,072 ตันรวม 1,185,563 ตัน
      ภาพรวมการแข่งขันทางธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศในปัจจุบันนี้ คู่แข่งที่สำคัญในภูมิภาคนี้ คือ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนเราจะมีคู่แข่งทางการขนส่งสินค้าทางอากาศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง แต่ขณะนี้ฮ่องกงไม่ได้เป็นคู่แข่งของเราอีกต่อไป เพราะฮ่องกงได้แซงหน้าเราไปมาก โดยเฉพาะได้เปลี่ยนจากสนามบินระหว่างประเทศธรรมดาเป็นประตูสู่ประเทศจีน (Gateway to China) ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนมาเลเซียนั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากไม่กี่ปีที่ผ่าน มาจำนวนผู้มาใช้บริการกลับลดลง ในขณะที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมีความแออัดมาก สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ที่จอดรถของผู้มาใช้บริการก็มีความหนาแน่น
 สภาพปัญหาและอุปสรรค
      1) ปัจจุบันพื้นที่ของคลังสินค้าของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยทั้ง 4 หลัง มีความหนาแน่นแออัดสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลา 16.00 - 24.00 น. หรือในช่วงเวลาอนุญาตให้เดินรถบรรทุกได้ สินค้าจากที่ต่าง ๆ จะต้องการตรวจสอบและพิธีการต่างๆ ก่อนที่จะนำบรรจุขึ้นเครื่องซึ่งจะต้องใช้เวลามากทำให้เกิดความไม่แน่นอน บ่อยครั้งที่หลังจากสินค้ามาถึงที่คลังสินค้าแล้วไม่สามารถตามหาเจ้าของ สินค้าได้
      2) สายการบินแห่งชาติของประเทศไทยยังไม่มีเครื่องบินสำหรับบรรทุกสินค้าโดย เฉพาะ (Air Freighter) แต่ยังคงใช้วิธีฝากไปกับเครื่องบินผู้โดยสารหรือเช่าพื้นที่บนเครื่องบินจาก สายการบินอื่น ทำให้เกิดรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
      3) ห้องเย็นสำหรับพักสินค้าที่ต้องการรักษาความเย็นมีพื้นที่และจำนวนห้องที่ ให้บริการจำกัด ในกรณีที่สินค้าที่ต้องการขนส่งมีปริมาณมากและใช้พื้นที่มาก เช่น กล้วยไม้สด จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่พอเพียงต่อความต้องการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนส่งทางถนนต้องนำสินค้ามาถึงที่คลังสินค้าในเวลาที่ ใกล้เคียงกับเวลาที่เครื่องบินจะออกจากลานจอด ทำให้ความแออัดบริเวณหน้าคลังสินค้าที่มีมากอยู่แล้วกลับทวีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จะส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบลดลงด้วย








ข้อมูลจาก:  http://www.fts.rtaf.mi.th, 31 (เมษายน, 2552),
             :  http://www.thaitrucknavigator.org/truck/thaitrucknavigator/trucknavigator/index.php?option=com_content&view=article&id=96:2008-08-05-07-08-34&catid=54:2008-07-13-16-12-56&Itemid=107, 31 (เมษายน, 2552),
            : พรนพ พุกกะพันธุ์, “ธุรกิจการบิน (Airline business)”, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548, หน้า 120.,
            :   http://www.thaitrucknavigator.org/truck/thaitrucknavigator/trucknavigator/index.php?option=com_content&view=article&id=96:2008-08-05-07-08-34&catid=54:2008-07-13-16-12-56&Itemid=107, 31 (เมษายน, 2552)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555