วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาดูกันซิว่าไทยมีวิวัฒนาการขนส่งทางอากาศอย่างไร



ประวัติการขนส่งทางอากาศเชิงพาณิชย์ของไทย

การขนส่งทางอากาศของไทยเริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) โดยพันเอก เดน เบอร์ ( Vander Born ) ชาวเบลเยี่ยมได้นำเครื่องบินออร์วิลล์ ไรท์ มาสาธิตการบิน ณ ราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน ในปี วันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 และนับเป็นเครื่องบินลำแรกที่เข้ามาในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการขนส่งทางอากาศ และได้ทรงริเริ่มวางรากฐานการบินในประเทศไทย โดยได้ทรงโปรดเกล้าให้กระทรวงกลาโหมคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาวิชาการบินที่ฝรั่งเศล เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้ซื้อเครื่องบินมาจำนวน 8 ลำ โดยบรรทุกลงเรือมาประเทศไทย และใช้ราชกรีฑาสโมสร เป็นสนามบินพร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบินในบริเวณนั้น ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้ก่อสร้างสนามบินขึ้นใหม่ที่ตำบล ดอนเมือง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้มีการใช้เครื่องบินในการไปรษณีย์ภัณฑ์ โดยเริ่มทำการทดลองในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2463 โดยขนส่งจากกรุงเทพไปยังนครราชสีมา ใช้เวลาบิน 1 ชั่วโมง 28 นาที


ต่อมากรมอากาศยานทหารบกได้นำเครื่องบินแบบเบร์เกต์มาดัดแปลงสำหรับขนส่งพัสดุและผู้โดยสาร โดยเส้นทางแรกที่ทำการทดลองคือกรุงเทพฯ – จันทร์บุรี ทดลองบินในปี พ.ศ.2465 ต่อมาในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันได้เปิดเส้นทางนครราชสีมา – ร้อยเอ็ด – อุบลราชธานี ซึ่งปรากฏว่ามีผู้คนใช้บริการเป็นจำนวนมาก จนในปี พ.ศ.2466 ได้เปิดเส้นทางใหม่ นครราชสีมา – ร้อยเอ็ด – อุดรธานี – หนองคาย

ในปี พ.ศ. 2467 สายการบิน KLM ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำการบินพาณิชย์ไปยังประเทศอินโดนิเซียโดยใช้เครื่องบินฟอกเกอร์ ได้มาแวะที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และนับเป็นสายการบินแรกที่บินเข้ามายังประเทศไทย

ต่อมาในวันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2473 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจได้ก่อตั้งบริษัทเดินอากาศจำกัด โดยใช้ชื่อภาษอังกฤษว่า Aerial Transport of Siam Company Limited เส้นทางการบินในระยะแรก เน้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฐานบินอยู่ที่โคราช เริ่มบริการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ในเส้นทาง โคราช – ร้อยเอ็ด – นครพนม และเส้นทาง โคราช – ขอนแก่น - อุดรธานี ด้วยควมถี่ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

 


ในปี พ.ศ . 2479 ๆได้ขยายกิจการให้บริการสู่ภาคเหนือ ในเส้นทาง นครสวรรค์ – ตาก และนครสวรรค์ – เชียงใหม่ ส่วนทางภาคใต้ได้เปิดเส้นทางการบินระหว่าง กรุงเทพ ไปยัง สุราษฏร์ธานี พังงา และ ภูเก็ต ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 ได้มีการรวมเส้นทางการบินของกองทัพอากาศมาให้บริษัท เดินอากาศ ( บดท ) ได้แก่เส้นทาง กรุงเทพฯ ไปยัง ปีนัง สิงค์โปร์ ฮ่องกง ร่างกุ้ง กัลกัตต้า เสียมราฐ


หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีสายการบินสายที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2490 ใช้ชื่อว่า สายการบินแปซิฟิก โอเวอร์ซีส์ ( POAS ) โดยเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐ ทำการบินด้วยเครื่องบินแบบ DC –3 โดยบินจากกรุงเทพ – ฮ่องกง – กวม – เวก – มิดเวย์ – โฮโนลูลู – ลอสแองเจลลิส และในเส้นทาง กรุงเทพ ไปยัง ปีนัง ฮ่องกง เซี้ยงไฮ้ โตเกียว สิงค์โปร์ ปรากฏว่าเส้นทางทับซ้อนกับบริษัทดินอากาศ รัฐบาลจึงให้รวมบริษัท และให้ชื่อว่า บริษัทเดินอากาศไทยจำกัด ( The Airways Co.Ltd.หรือ TAC ( บดท.) เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2494 และได้ซื้อเครื่องบิบแบบ DC – 4 เพิ่มอีก 1 เครื่อง และในปี พ.ศ.2520 บริษัทได้ซื้อเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 737-200 ( Boeing 737-200 ) จำนวน 4 เครื่อง แต่ล่ะเครื่องจุผู้โดยสาร 115 ที่นั่งมาให้บริการและในปี พ.ศ.2524 ได้นำเครื่องบินแบบ แอฟโร่ 748 จำนวน 7 เครื่องมาให้บริการ




ข้อมูลและภาพประกอบจากหนังสือ The history of Aviation in Thailand.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น